top of page

คณะกรรมการจริยธรรมการวิจัยในคน กลุ่มสหสถาบัน ชุดที่ 1 จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

กำหนดวันประชุมพิจารณาจริยธรรม

ทะเบียนรับวิทยานิพนธ์ / โครงการวิจัยใหม่ที่ส่งเพื่อรับการพิจารณาจริยธรรมวิจัย

วิทยานิพนธ์ / โครงการวิจัยใหม่ ที่รอเข้ารับการพิจารณาครั้งต่อไป (ประมาณเดือนเมษายน – พฤษภาคม 2561)

หมายเหตุ: จำนวนเรื่องที่เข้าประชุมประมาณ 6-7 เรื่อง / ครั้ง

วัตถุประสงค์

 

              เพื่อให้เป็นไปตามมาตรฐานสากลในการคุ้มครองผู้มีส่วนร่วมในโครงการวิจัย และเป็นไปตามข้อบังคับแพทยสภาว่าด้วยการรักษาจริยธรรมแห่งวิชาชีพเวชกรรม พ.ศ.2544 หมวด 6 การศึกษาและการทดลองในมนุษย์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยได้มีประกาศแต่งตั้งคณะกรรมการพิจารณาจริยธรรมการวิจัยในคนกลุ่มสหสถาบันชุดที่ 1 จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยตามประกาศจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เพื่อพิจารณาประเด็นทางจริยธรรม ของโครงการวิจัยจาก คณะจิตวิทยา คณะพยาบาลศาสตร์ คณะสหเวชศาสตร์ สำนักวิชาวิทยาศาสตร์การกีฬา วิทยาลัยประชากรศาสตร์ และวิทยาลัยวิทยาศาสตร์สาธารณสุข

ขอบเขต

 

             มหาวิทยาลัยพิจารณาแต่งตั้งนักวิชาการคณะหนึ่งเป็นคณะกรรมการพิจารณาจริยธรรมการวิจัยในคนกลุ่มสหสถาบัน ชุดที่ 1 มีอำนาจหน้าที่

1. พิจารณาโครงการวิจัยที่เสนอให้พิจารณา ทั้งทางด้านระเบียบวิธีวิจัย ด้านจริยธรรมรวมทั้ง ประสบการณ์ผู้วิจัยใน กระบวนการดำเนินการวิจัย

2. ทบทวนรายงานความก้าวหน้าของการวิจัยในช่วงเวลาที่เหมาะสมกับความเสี่ยงต่อผู้มีส่วนร่วม ใน การ วิจัย ทั้งนี้   ต้องไม่น้อยกว่าหนึ่งครั้งต่อปี นอกจากนี้คณะกรรมการ มีสิทธิเข้าไปสังเกตกระบวนการ ให้ความยินยอมของ ผู้มีส่วนร่วมในการวิจัย กระบวนการอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องกับสิทธิ์และสวัสดิภาพของผู้มีส่วนร่วมในการวิจัย

3. ให้ยุติการดำเนินการโครงการวิจัยชั่วคราว (Suspension) หรือเพิกถอนการอนุมัติ (Withdrawal) หรือยุติ โครงการวิจัยก่อนกำหนด (Termination) ในกรณีที่โครงการวิจัยอาจทำให้ผู้มีส่วนร่วมในการวิจัย มีความเสี่ยง มากกว่าที่คาดไว้ หรือการไม่ปฏิบัติตามหลักจริยธรรมอย่างร้ายแรง และ/หรือ อย่างต่อเนื่อง หรือการไม่ปฏิบัติ ตามข้อกำหนดของคณะกรรมการ อย่างร้ายแรง และ/หรือ อย่างต่อเนื่อง ในการตัดสินดังกล่าวต้องทำเป็นมติ ของการประชุมคณะกรรมการฯ ที่มีองค์ประชุมครบ และมีการบันทึกผล การพิจารณาเป็นหลักฐาน

4. จำกัดหรือระงับการดำเนินโครงการวิจัยบางส่วน (Restriction) ในกรณีที่ผู้วิจัยไม่ปฏิบัติตามหลักการจริยธรรม หรือข้อกำหนดของคณะกรรมการ ต่อเมื่อผู้วิจัยได้ปฏิบัติเป็นที่เรียบร้อยแล้วจึงจะอนุมัติให้ดำเนินการต่อได้

              รองอธิการบดีผู้รับผิดชอบ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย มอบหมายให้คณบดีวิทยาลัยวิทยาศาสตร์สาธารณสุข จัดหาพื้นที่ตั้งเป็นสำนักงานคณะกรรมการ สำหรับงบประมาณการดำเนินการของคณะกรรมการ ได้รับการสนับสนุนจากมหาวิทยาลัย โดยแยกเป็นหน่วยงานเฉพาะ ให้คณะกรรมการ เป็นผู้ทำงบประมาณ และ ให้ คณบดีวิทยาลัย วิทยาศาสตร์สาธารณสุขเป็นผู้เสนองบประมาณ เพื่อ ให้สามารถดำเนินการตามขอบเขต และยังมอบหมายให้คณะกรรมการมีอำนาจหน้าที่ในการพิทักษ์สิทธิความปลอดภัย และความเป็นอยู่ที่ดีของผู้มีส่วนร่วมในการวิจัยและชุมชนที่เข้าร่วมในโครงการวิจัย

ความรับผืดชอบ

 

หลักจริยธรรม

 

              คณะกรรมการ ยึดถือหลักการสากล เกี่ยวกับจริยธรรมการวิจัย ได้แก่

1. แนวทางจริยธรรมการทำวิจัยในคนแห่งชาติ ชมรมจริยธรรมการวิจัยในคนในประเทศไทย พ.ศ.2545

2. แนวทางปฏิบัติและประเด็นพิจารณาทางชีวจริยธรรมด้านการทำวิจัยทาง วิทยาศาสตร์การแพทย์สมัยใหม่ที่  เกี่ยวข้องกับมนุษย์ (แนวปฏิบัติการวิจัยทางพันธุกรรม แนวปฏิบัติการวิจัยด้าน สเต็มเซลล์ในมนุษย์  แนวปฏิบัติการจัดทำข้อตกลงการใช้ตัวอย่างทางชีวภาพเพื่อการวิจัยระหว่างสถาบัน) พ.ศ.2545

3. หลักการแห่งคำประกาศเฮลซิงกิ (Declaration of Helsinki) ปี 1964 และฉบับปรับปรุง

4. Committee of International Organization on Medical Science (CIOMS)

5. The Belmont Report

6. International Conference on Harmonization, Guidance on Good Clinical Practices (ICH GCP)

7. Operational Guidelines for Ethics Committees that Review Biomedical Research (WHO)

8. WHO & ICH Guidelines for Good Clinical Practice ทั้งนี้ต้องไม่ขัดต่อกฎหมายของประเทศ  และกฎระเบียบอื่นๆ ในประเทศไทย

ขั้นตอนการดำเนินการขอรับการพิจารณาจริยธรรมการวิจัย

 

              การรับเอกสารโครงการวิจัย/เอกสารที่เกี่ยวข้องในการส่งครั้งแรก

เจ้าหน้าที่สำนักงานเป็นผู้รับเอกสารโครงการวิจัยหรือเอกสารที่เกี่ยวข้อง เอกสารที่ผู้วิจัยต้องนำส่งคณะกรรมการเพื่อพิจารณาประกอบด้วย

1. แบบบันทึกแจ้งความประสงค์เสนอโครงการวิจัยเพื่อขอรับการพิจารณาจริยธรรมการวิจัย (AF 01-07/AF 02-07)

2. เอกสารการพิจารณา Relevant & Scientific Merit โดยระดับคณะ/สถาบัน/หน่วยงาน (ถ้ามี)

3. ใบคำขอรับการพิจารณาจริยธรรมการวิจัย (AF 03-07)

4. ข้อมูลสำหรับกลุ่มประชากรหรือผู้มีส่วนร่วมในการวิจัย (Patient/Participant Information sheet) (AF 04-07)   สำหรับการศึกษาระดับบัณฑิตศึกษาต้องมีลายมือชื่ออาจารย์ที่ปรึกษาลงนามกำกับในกรณีที่มีผู้มีส่วนร่วมในการ   วิจัยอายุระหว่าง 8-17 ปี ต้องมีเอกสารข้อมูลต่างหากเป็นภาษาที่เข้าใจง่ายเหมาะสมกับกลุ่มอายุ

5. ใบยินยอมของกลุ่มประชากรหรือผู้มีส่วนร่วมในการวิจัย (Informed Consent Form) (AF 05-07)   สำหรับการศึกษาระดับบัณฑิตศึกษาต้องมีลายมือชื่ออาจารย์ที่ปรึกษาลงนามกำกับ           

5.1 ผู้วิจัยสามารถขอยกเว้นใบยินยอมได้ในกรณีที่งานวิจัยที่มีความเสี่ยงน้อย เช่น การวิจัยที่ ใช้แบบสอบถามที่ไม่ระบุชื่อผู้ตอบแบบสอบถาม, งานวิจัยที่วิเคราะห์จากข้อมูลทุติยภูมิ หรือการศึกษาสิ่งส่งตรวจที่ไม่สามารถสืบค้นกลับได้ว่าเป็นบุคคลใด           

5.2 คณะกรรมการฯ จะพิจารณาการยกเว้นการลงนามในใบยินยอมในกรณีที่งานวิจัยนั้นมีระดับความเสี่ยงน้อย เช่น มีการเก็บข้อมูลด้วยการสัมภาษณ์ทางโทรศัพท์ หรือการลงนามนั้นอาจทำให้เกิดความเสียหาย/เป็นการเปิดเผยความลับของผู้มีส่วนร่วมในการวิจัย เช่น การศึกษาในกลุ่มผู้ติดยาเสพติด,  ผู้ติดเชื้อ HIV, หรือโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์, หญิงบริการ เป็นต้น แต่ผู้วิจัยต้องให้ข้อมูลที่จำเป็น ต่อการตัดสินใจแก่ผู้มีส่วนร่วมในการวิจัยแม้ว่าจะมีการยกเว้นการลงนามในใบยินยอมในกรณีที่มีผู้มีส่วนร่วมในการวิจัยอายุระหว่าง 8-17 ปี ต้องลงนามให้ความยินยอมร่วมกับบิดา/มารดาหรือผู้ปกครอง (Assent)

6. แผนการดำเนินงานตลอดโครงการวิจัย ตารางกำหนดช่วงระยะเวลากิจกรรมการวิจัยทุกขั้นตอน

7. ประวัติคณะผู้วิจัย

8. โครงการวิจัยฉบับสมบูรณ์ (Research Proposal) พร้อมใส่หมายเลขทุกหน้า

9. เอกสารอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องกับโครงการวิจัย ได้แก่ รายละเอียดโปรแกรมต่างๆ แบบสอบถาม ป้ายโฆษณา   แผ่นพับประชาสัมพันธ์ เป็นต้น

เอกสารโครงการ/เอกสารที่เกี่ยวข้องในการส่งครั้งแรก

 

             โครงการวิจัยหรือเอกสารที่เกี่ยวข้องที่ผู้วิจัยต้องนำส่งคณะกรรมการเพื่อพิจารณาประกอบด้วย

1. บันทึกข้อความแจ้งความประสงค์เสนอโครงการวิจัยเพื่อขอรับการพิจารณาจริยธรรมการวิจัย (AF01-07/AF02-07)

2. เอกสารการพิจารณา Relevant & Scientific Merit โดยระดับคณะ/สถาบัน/หน่วยงาน (ถ้ามี)

3. ใบคำขอรับการพิจารณาจริยธรรมการวิจัย (AF 03-07)

4. ข้อมูลสำหรับกลุ่มประชากรหรือผู้มีส่วนร่วมในการวิจัย (Patient/Participant Information sheet) (AF 04-07)   
    สำหรับการศึกษาระดับบัณฑิตศึกษาต้อง มีลายมือชื่ออาจารย์ที่ปรึกษาลงนามกำกับ

5. ใบยินยอมของกลุ่มประชากรหรือผู้มีส่วนร่วมในการวิจัย (Informed Consent Form) (AF 05-07)
    สำหรับการศึกษาระดับบัณฑิตศึกษาต้องมีลายมือชื่ออาจารย์ที่ปรึกษาลงนามกำกับ

6. แผนการดำเนินงานตลอดโครงการวิจัย ตารางกำหนดช่วงระยะเวลากิจกรรมการวิจัยทุกขั้นตอน

7. ประวัติคณะผู้วิจัย

8. โครงการวิจัยฉบับสมบูรณ์ (Research Proposal) พร้อมใส่หมายเลขทุกหน้า

9. เอกสารอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องกับโครงการวิจัย

** โดยนำเอกสารทั้งหมดเรียงตามลำดับ และถ่ายสำเนา เย็บมุมซ้ายด้านบน จำนวน 9 ชุด (ต้นฉบับ 1 ชุดและสำเนา 8 ชุด)

เอกสารโครงการวิจัย/เอกสารที่เกี่ยวข้องในการส่งแก้ไข

 

              โครงการวิจัยหรือเอกสารที่เกี่ยวข้องที่ผู้วิจัยต้องนำส่งคณะกรรมการเพื่อพิจารณาประกอบด้วย

1. บันทึกข้อความนำส่ง

2. ตารางรายละเอียดการแก้ไขฯ (AF 02-11)

3. บันทึกข้อความแจ้งผลการพิจารณาที่ได้รับจากสำนักงานคณะกรรมการฯ

4. เอกสารที่แก้ไขตามบันทึกข้อความแจ้งผลการพิจารณาจากสำนักงานคณะกรรมการฯ

การยื่นเสนอโครงการวิจัยเพื่อขอรับการพิจารณาจริยธรรมการวิจัย

 

ให้ส่งโครงการวิจัย/เอกสารที่เกี่ยวข้อง ได้ที่

สำนักงานคณะกรรมการพิจารณาจริยธรรมการวิจัยในคน กลุ่มสหสถาบัน ชุดที่ 1

Office of Ethics Review Committee for Research Involving Human Research Subjects, Health Science Group

อาคารจามจุรี 1 ชั้น 2 ห้อง 211 ถ.พญาไท แขวงวังใหม่ เขตปทุมวัน กทม. 10330

โทรศัพท์ 0-2218-3202 

หลักเกณฑ์การพิจารณา

             การทบทวนโครงการวิจัย มีหลักการพิจารณาดังนี้

ระเบียบวิธีวิจัย และการบริหารจัดการ

1. มีความถูกต้องและเหมาะสมกับวัตถุประสงค์ของการวิจัย

2. เกณฑ์การคัดเข้า คัดออก ถอนผู้มีส่วนร่วมในการวิจัยออกจากการวิจัย และเกณฑ์การหยุดทำวิจัย

3. การคัดเลือกผู้เข้าร่วมในโครงการวิจัยมีความเสมอภาค

4. ความเสี่ยง ความไม่สบาย หรือความไม่สะดวกที่อาจเกิดขึ้น ในการเข้าร่วมโครงการวิจัย

5. ความเสี่ยงเป็นสัดส่วนที่พอเหมาะกับประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับจากการทำวิจัย

6. ไม่มีการบังคับหลอกลวง หรือชักจูงอย่างไม่เหมาะสมให้สมัครเข้าร่วมการวิจัยและมีสิทธิปฏิเสธ

    หรือถอนตัวจากการวิจัยได้ทุกขณะโดยไม่สูญเสียประโยชน์ที่พึงได้รับ

7. มีการวางแผนเฝ้าระวังในเรื่องความเสี่ยงและความปลอดภัยที่อาจเกิดขึ้นแก่ผู้มีส่วนร่วมในการวิจัยอย่างเหมาะสม

8. มีแผนการรักษาความลับเกี่ยวกับข้อมูลของผู้มีส่วนร่วมในการวิจัย

9. มีเหตุผลสนับสนุนเพียงพอในการนำกลุ่มเปราะบาง เข้าร่วมโครงการวิจัยและมีมาตรการระมัดระวังอันตรายอย่างสมเหตุสมผล

 

การพิทักษ์สิทธิของผู้มีส่วนร่วมในการวิจัย

1. เอกสารสำหรับกลุ่มประชากรหรือผู้มีส่วนร่วมในการวิจัย (Participant Information Sheet) (AF 04-07)

    มีการให้ข้อมูลอย่างเพียงพอ เป็นภาษาที่เข้าใจง่าย เนื้อหากระชับ หลีกเลี่ยงภาษาวิชาการ

2. ใบยินยอมของกลุ่มประชากรหรือผู้มีส่วนร่วมในการวิจัย (Informed Consent Form) ต้องมีข้อความที่แสดงว่า

    ได้รับการบอกกล่าวถึงลักษณะโครงการวิจัยซึ่งรวมถึงข้อความที่ผู้เข้าร่วมวิจัยจะต้องปฏิบัติ ระยะเวลาเข้าร่วมโครงการ

    ความสมัครใจ เข้าร่วมโครงการวิจัย และการรักษาความลับของผู้มีส่วนร่วมในการวิจัย

3. ผู้วิจัยจะต้องสำเนาเอกสารสำหรับกลุ่มประชากรหรือผู้มีส่วนร่วมในการวิจัย (Participant Information Sheet)

    และใบยินยอมของกลุ่มประชากรหรือผู้มีส่วนร่วมในการวิจัย (Informed Consent Form) ให้กับผู้มีส่วนร่วมในการวิจัย 1 ชุด

การทบทวนผู้วิจัยและสิ่งที่ใช้ในการวิจัย

1. ผู้วิจัยมีความรู้ความสามารถเพียงพอที่จะทำการวิจัย

2. ผู้วิจัยมีประสบการณ์การทำวิจัย

3. ผู้วิจัยมีสิ่งอำนวยความสะดวก/วัสดุ/อุปกรณ์ เพียงพอ

4. มีงบประมาณเหมาะสมในการจัดการงานวิจัย

ผลการพิจารณาตัดสินและการดำเนินการ

แบบที่ 1A  รับรอง (Approval)

แบบที่ 2B  ให้แก้ไขตามรูปแบบที่กำหนด หรือมีประเด็นต้องการคำอธิบายเพิ่มเติม

(Requested to follow format/clarification)

- ส่งฉบับแก้ไข/ข้อชี้แจงเพิ่มเติม3 ชุด  ภายใน 2 สัปดาห์

แบบที่ 3C  ระเบียบวิธีวิจัยเหมาะสม แล้วแต่มีประเด็นทางระเบียบวิธีวิจัย/จริยธรรม สมควรแก้ไขให้ดีขึ้น

(Required betterment and Revision) เป็นต้นว่า ความไม่ชัดเจนของ Sampling frame, Sampling technique, เครื่องมือวิจัย เป็นต้นว่า แบบสอบถาม, สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์, การตรวจสอบขณะเก็บข้อมูล, การป้องกันกลุ่มเสี่ยงยังไม่รัดกุม

                      - ส่งฉบับแก้ไข 3 ชุด ภายใน 4 สัปดาห์ เพราะมีรายละเอียดเพิ่มขึ้นกว่าแบบที่ 2 B หากส่งเกินกำหนดเวลา

ให้ถือเป็นการเสนอเพื่อการพิจารณาครั้งแรก เพราะสถานการณ์ต่างๆ ที่เปลี่ยนไปอาจมีผลกระทบต่อกระบวนการวิจัย

แบบที่ 4D  มีประเด็นทางระเบียบวิจัย/จริยธรรม สมควรให้ผู้วิจัยทบทวนใหม่(Deferment) เป็นต้นว่าคำถามวิจัยน่าสนใจ

น่าสนับสนุนให้ดำเนินการ แต่ควรทบทวนวรรณกรรมเพิ่มเติม หรือ ระเบียบวิธีวิจัยไม่เหมาะสม หรือมีความเสี่ยงมากต่อผู้มีส่วนร่วมในการวิจัย ควรเพิ่มมาตรการ การดูแล หรือประโยชน์ที่เกิดขึ้นไม่ชัดเจน

                      - ส่งฉบับแก้ไขเท่ากับจำนวนกรรมการฯ เพื่อพิจารณาเหมือนขั้นตอนการพิจารณาครั้งแรก

แบบที่ 5E  ไม่อนุมัติ (Disapproval) เนื่องจากระเบียบวิธีวิจัยไม่เหมาะสมและมีประเด็นที่ขัดต่อหลักจริยธรรมในการวิจัย

1.จะดำเนินการแจ้งผลการพิจารณาตัดสินให้ผู้วิจัยทราบภายใน 2 สัปดาห์หลังการประชุม

2.สำหรับโครงการที่ต้องแก้ไข หากผู้วิจัยไม่เห็นพ้องตามข้อเสนอของคณะกรรมการสามารถโต้แย้งผลการพิจารณาตัดสินได้

3.หากผู้วิจัยไม่ดำเนินการภายในระยะเวลาที่ระบุ แสดงว่าไม่ประสงค์รับเอกสารการรับรองและหากผู้วิจัยนำเสนอโครงการวิจัยเดิมเพื่อพิจารณาอีกให้ดำเนินการเหมือนเป็นการพิจารณาครั้งแรก

เงื่อนไขในการปฏิบัติเมื่อได้รับการพิจารณาอนุมัติ

1. ข้าพเจ้ารับทราบว่าเป็นการผิดจริยธรรมหากดำเนินการเก็บข้อมูลการวิจัยก่อนได้รับการอนุมัติ จากคณะกรรมการพิจารณาจริยธรรมการวิจัยฯ

2. หากใบรับรองโครงการวิจัยหมดอายุ การดำเนินการวิจัยต้องยุติ เมื่อต้องการต่ออายุต้องขออนุมัติใหม่ ล่วงหน้าไม่ต่ำกว่า 1 เดือน พร้อมส่งรายงานความก้าวหน้าการวิจัย

3. ต้องดำเนินการวิจัยตามที่ระบุไว้ในโครงการวิจัยอย่างเคร่งครัด

4. ใช้เอกสารข้อมูลสำหรับกลุ่มประชากรหรือผู้มีส่วนร่วมในการวิจัย ใบยินยอมของกลุ่มประชากรหรือผู้มีส่วนร่วมในการวิจัย และเอกสารเชิญเข้าร่วมวิจัย (ถ้ามี) เฉพาะที่ประทับตราคณะกรรมการเท่านั้น

5. หากเกิดเหตุการณ์ไม่พึงประสงค์ร้ายแรงในสถานที่เก็บข้อมูลที่ขออนุมัติจากคณะกรรมการ ต้องรายงานคณะกรรมการภายใน 5 วันทำการ

6. หากมีการเปลี่ยนแปลงการดำเนินการวิจัย ให้ส่งคณะกรรมการพิจารณารับรองก่อนดำเนินการ

7. โครงการวิจัยไม่เกิน 1 ปี ส่งแบบรายงานสิ้นสุดโครงการวิจัย (AF 03-12) และบทคัดย่อผลการวิจัย

    ภายใน 30 วัน เมื่อโครงการวิจัยเสร็จสิ้น สำหรับโครงการวิจัยที่เป็นวิทยานิพนธ์ให้ส่งบทคัดย่อผลการวิจัย

    ภายใน 30 วัน เมื่อโครงการวิจัยเสร็จสิ้น

 

           เจ้าหน้าที่สำนักงานประทับตราคณะกรรมการ เลขที่โครงการวิจัย วันที่รับรอง วันหมดอายุในเอกสารข้อมูลสำหรับกลุ่มประชากรหรือผู้มีส่วนร่วมในการวิจัย  ใบยินยอมของกลุ่มประชากรหรือผู้มีส่วนร่วมในการวิจัย เอกสารเครื่องมือต่างๆ ที่ใช้ เอกสารประชาสัมพันธ์ และให้ผู้วิจัยใช้เอกสารดังกล่าวที่มีข้อความตรงกับที่ได้ประทับตราคณะกรรมการเมื่อเอกสารดังกล่าวได้มีการใช้จริงให้ส่งสำเนาเอกสารชุดแรกให้สำนักงานคณะกรรมการ เก็บไว้เป็นหลักฐาน

รายชื่อคณะกรรมการพิจารณาจริยธรรมการวิจัยในคนกลุ่มสหสถาบันชุดที่ 1  จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

เอกสารที่เสนอพิจารณาครั้งแรก/Initial Approval request forms

หมายเหตุ:  โปรดตรวจสอบเอกสารอื่น ๆ ตาม Checklist ในแบบฟอร์มคำขอรับการพิจารณาจริยธรรมการวิจัยให้ครบถ้วน 

Note: Please also check other related materials which are requested to submit in an application form. 

สถานที่ติดต่อ

สำนักงานคณะกรรมการพิจารณาจริยธรรมการวิจัยในคน กลุ่มสหสถาบัน ชุดที่ 1

Office of Ethics Review Committee for Research Involving Human Research Subjects, Health Science Group

อาคารจามจุรี 1 ชั้น 2 ห้อง 211 ถ.พญาไท แขวงวังใหม่ เขตปทุมวัน กทม. 10330 

โทรศัพท์ : 0-2218-3202

E-mail : eccu@chula.ac.th

รายการแบบฟอร์มอื่นๆ ในการยื่นเสนอโครงการวิจัย

bottom of page